เป็นกระแสจริงๆ สำหรับการมาของ Notebook ปี 2020 รุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ชิปประมวลผล AMD Ryzen 4000 ทั้ง U และ H Series ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพความแรงจากการที่ได้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร สถาปัตยกรรมโค้ดเนม Renoir (เรอนัวร์) สุดล้ำหน้า ที่ส่งผลให้มีความแรงที่มากกว่าขึ้น ความร้อนที่น้อยลง แบตเตอรี่ยาวนานกว่า นับได้ว่าเป็นขุมพลังสมองคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ ที่ได้ความสดใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกประเด็นของชิปประมวลผล AMD Ryzen 4000 Series สำหรับ 3 เหตุผล ว่าทำไมควรซื้อ Notebook รุ่นใหม่ ที่ใช้ชิป AMD Ryzen 4000 Series 7nm แทนที่ชิปประมวลผลเดิมๆ กัน
AMD Ryzen 4000 Series แรงกว่า !!!
อีกทั้งเปิดตัวกันไปแล้วสำหรับ Notebook หลากหลายรุ่นที่มาพร้อมประสิทธิภาพที่สูง ได้อย่างน่าสนใจเลยด้วยชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดจาก AMD Ryzen สำหรับตลาดโน้ตบุ๊คทั้งตัวแรงรหัส H (high power) สำหรับคอเกมเน้นแรงลื่น และรหัส U (low power) สำหรับโน้ตบุ๊คทำงานเน้นประหยัดพลังงานพร้อมชน Intel ในทุกตลาดแล้ว ทั้ง Core i3 / i5 / i7 / i9 ซึ่งแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น
- Ryzen 9 4900H (3.30GHz – 4.40GHz ,8 core/16 thread ,TDP 35-54W )
- Ryzen 9 4900HS (3.00GHz – 4.30GHz ,8 core/16 thread ,TDP 35W )
- Ryzen 7 4800H (2.90GHz – 4.20 GHz ,8 core/16 thread ,TDP 45W )
- Ryzen 7 4800HS (2.90GHz – 4.20 GHz ,8 core/16 thread ,TDP 35W )
- Ryzen 5 4600H (3.00GHz – 4.0 GHz ,6 core/12 thread ,TDP 45W)
ดูจากจำนวนคอร์และเธรดแล้วเหนือชั้นกว่า และยังเคลมประสิทธิภาพว่าเหนือกว่าคู่แข่งอีกด้วย และยังมีชิปประมวลผลในส่วนของ U Series ที่เน้นประหยัดพลังงานสำหรับโน้ตบุ๊คทำงาน เน้นความบางเบาเป็นหลัก ซึ่งเดิม AMD ก็ทำตลาดในกลุ่มนี้ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยราคาที่ถูกคุ้มมากกว่า แต่ยังให้ประสิทธิภาพดีเยี่ยม (ดีกว่า Ryzen 3000H ด้วย) มาพร้อมกันถึง 5 รุ่นได้แก่
- Ryzen 7 4800U (1.80GHz – 4.2 GHz ,8 core/16 thread ,TDP 15W)
- Ryzen 7 4700U ( 2.00GHz – 4.1 GHz ,8 core/8 thread ,TDP 15W)
- Ryzen 5 4600U (2.10GHz – 4.0 GHz ,6 core/12 thread ,TDP 15W)
- Ryzen 5 4500U (2.30GHz – 4.0 GHz ,6 core/6 thread ,TDP 15W)
- Ryzen 3 4300U (2.70GHz – 3.7 GHz ,4 core/4 thread ,TDP 15W)
ทดสอบ 4800H กับ 9750H ให้ดูว่าแรงกว่ากันเห็นๆโดยเฉพาะด้าน มัลติเธรดหรือเทสอบในโปรแกรม 3D
เรียกได้ว่ามีการย่อยสเปคหนักมาก เพื่อตอบโจทย์ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คที่แตกต่างออกไปหลักๆคือเรื่องของคอร์และเธรดที่ถูกปรับลง ถ้ารุ่นท๊อปจะจัดเต็ม คอร์และเธรดอีกเท่าตัวขณะที่รุ่นลองจะถูกตัดเรดลงครึ่งหนึ่ง พร้อมลดความเร็วมานิดนึง โดยตัวท็อปสุดเป็น AMD Ryzen 9 4900H เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมทุกความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกม ที่ต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ด้วยความเร็ว 3.30 GHz และค่า Boost Clock ที่ 4.40 GHz, คอร์ประมวลผล 8 คอร์ 16 เธรด, ค่าอัตราการใช้พลังงานสูงสุด (TDP) ที่ 45W และประสิทธิภาพการใช้พลังงานอันยอดเยี่ยมที่กระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร ทั้งหมดนี้ผสานรวมเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็น Gaming Notebook ที่ดีที่สุดในโลก ทั้งด้านการออกแบบที่เพรียวบาง น้ำหนักที่เบาลง และมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่ดียิ่งขึ้น
แต่ที่น่าสนใจคือตัวการ์ดจอออนชิปหรือออนบอร์ดจะไม่ใช้คำว่า VEGA 3 5 7 แล้ว แต่จะใช้คำว่า AMD Radeon™ Graphics แทน โดยจะแบ่งรุ่นตามความเร็วจีพียูจำนวนคอร์กราฟิกที่สัมพันธ์กับรุ่นของซีพียูแทน และตัวรหัส H ก็ยังมีการ์ดจอติดมาให้เหมือนเดิม (หมายความว่ายังคงมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่ และแชร์แรมจากเครื่องไปเหมือนเดิม) โดยตัวคอร์กราฟิกจะถูกลดหลั่นลงตามรุ่น โดย Ryzen 7 จะมีคอร์กราฟฟิกสูงสุดที่ 8 คอร์ และลดลงมาเป็น 6 คอร์ใน Ryzen 5 และ 5 คอร์ใน Ryzen 3 สูตรเดียวกันทั้งรหัส H และ U ส่งผลให้รองรับการเล่นเกมได้อย่างลื่นไหลใกล้เคียงกับกราฟิกการ์ดแบบแยกทีเดียว แน่นอนว่าเหนือกว่า G7 ของ Intel ด้วย
การเล่นเกมตัวกราฟิกออนบอร์ดของ 4800U ก็ยังสามารถทำเฟรมเรทสูงกว่า 1065G7 ได้ทุกเกม
AMD ยังบอกว่า Ryzen 4000 mobile series นั้นมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อวัตต์สูงขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ Ryzen 3000 mobile series รุ่นเก่าอีกด้วย
AMD Ryzen 4000 Series ล้ำกว่า !!!
โดยอย่างที่บอกไปแล้วว่าชิปประมวลผล AMD Ryzen 4000 Series ทั้งหมดนี้มาในเทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร ที่ล้ำหน้ากว่า แน่นอนว่านอกจากประสิทธิภาพความแรงที่ดีขึ้นแล้ว ที่สำคัญคือสามารถใส่แรมบัสสูงได้มากขึ้นถึง DDR4 3200MHz และ LPDDR4 4266MHz ซึ่งรองรับขนาดสูงสุดที่ 32 – 64GB ตามสเปคที่ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คหลายค่ายเปิดตัวมา อย่างไรก็ตามแม้เวอร์ชั่นของ PCI Express ยังคงเป็น PCIe 3.0 เหมือนเดิมไม่ได้เป็น 4.0 แต่สำหรับมาตรฐานแรมบัสที่สูงกว่า DDR4 2400MHz หรือ DDR4 2666MHz ก็ส่งผลให้พลังประมวลผลโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วย
รวมไปถึง AMD Ryzen 4000 Series ยังได้ใส่เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า ‘การควบคุมแพลตฟอร์มอย่างชาญฉลาด’ หรือ SmartShift ซึ่งตามหลักการก็คือเทคโนโลยีแบบเดียวกันกับ NVIDIA Optimus หรือพูดง่ายๆ คือการใช้การ์ดจอในชิปประมวลผลกับการ์ดจอแยกสามารถสลับการทำงานร่วมกันได้ตามต้องการ เช่นใช้งานทั่วไปก็จะใช้การ์ดจอในชิปประมวลผลแต่เมื่อทำงานกราฟิกหรือเล่นเกมก็จะสลับไปการ์ดจอแยกนั่นเอง ส่งผลในการทำงาน 3 มิติ หรือเล่นเกม 3 มิติ มีความลื่นไหลเรียบเนียนทรงพลังกว่าที่เคยมีมา
AMD ยังบอกว่า Ryzen 4000 Series นั้นมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อวัตต์ดีขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับ Ryzen 3000 Series รุ่นเก่าของตนเองอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็มาพร้อมเทคโนโลยีการผลิตที่ 7 นาโนเมตรเช่นกัน พร้อมกันนั้นเรื่องของความล้ำยังได้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเป็นมาตรฐาน Wi-Fi 6 AX ที่ดีกว่าเดิมถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ ที่เป็น Wi-Fi 5 AC ซึ่งติดตั้งอยู่ในโน้ตบุ๊ค AMD Ryzen 3000 Series รุ่นก่อนหน้าทั้งหมด ส่งผลให้เป็นมาตรฐานในการซื้อโน้ตบุ๊คปี 2020 ก็ว่าได้
AMD Ryzen 4000 Series เย็นกว่า แบตนานกว่า !!!
โดยจากการทดสอบใช้งานจริงของชิปประมวลผล AMD Ryzen 4000 Series อย่าง Ryzen 7 4800HS ผ่านทาง Gaming Notebook รุ่น ASUS ROG Zephyrus G15 (GA502IU) เรื่องอุณหภูมิในการใช้งานในรูปแบบต่างๆ เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ และทำงานหนักๆ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมด Turbo
โดยจากที่ดูผ่านทางซอฟต์แวร์ Armory Crate ชิปประมวลผล Ryzen 7 4800HS มีอุณหภูมิอยู่ที่ไม่เกิน 75 – 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น โดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก จากการที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 7 นาโนเมตรที่เล็กและดีกว่า 10 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่าโน้ตบุ๊คเล่นเกมในสเปกใกล้เคียงกัน โดดเด่นด้วยความร้อนที่เกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับ Gaming Notebook รุ่นก่อนๆ อีกทั้งทดสอบกันต่อสำหรับ ASUS ROG Zephyrus G15 (GA502IU) สำหรับการใช้งานแบตเตอรี่
โน้ตบุ๊คเครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติขนาด 76Whrs ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราว ๆ 8 – 10 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวสำหรับชิปประมวลผล H Series ที่ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้ อีกทั้ง ASUS ROG Zephyrus G15 (GA502IU) ที่ใช้ชิปประมวลผล Ryzen 7 4800HS ยังสามารถชาร์จไฟได้ผ่านทางพอร์ต USB 3.2 Type-C ด้วยเทคโนโลยี USB PD (USB Power Delivery) กับอแดปเตอร์หรือ Power Bank ที่รองรับด้วย ส่งท้ายด้วยการทดสอบจากทาง AMD เพิ่มเติมจากภาพด้านล่าง
เทียบการประหยัดพลังงานระหว่าง 1065G7 กับ 4800U เห็นได้ชัดว่า Ryzen ทำได้ดีกว่า
นับได้ว่าการมาของชิปประมวลผล AMD Ryzen 4000 Series เทคโนโลยีการผลิต 7nm ที่ดีกว่า ให้ทั้งเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและเล่นเกมที่ดีขึ้น ซึ่งมีตัวเลือกที่หลากหลาย ในทุกช่วงรุ่นราคโน้ตบุ๊ค โดยมีฟีเจอร์ที่ล้ำหน้าไม่ว่าจะเป็นแรมมาตรฐาน DDR4 3200MHz และ SmartShift รวมถึง Wi-Fi 6 AX ที่ยอดยอดประสบการณ์ใช้งานมากยิ่งขึ้นไปอีก ปิดท้ายกับความร้อนที่เกิดนขึ้นน้อยกว่า และแบตเตอรี่เมื่อใช้งานโหมดประหยัดพลังงานก็ยาวนานกว่าด้วย ถือได้ว่าเป็นเหตุผลดีๆ ที่เราควรเลือกซื้อโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ปี 2020 ที่น่าซื้อมาใช้งานจริงๆ ครับ